วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว




เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว 
ภูมิประเทศ
ภูมิประเทศด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินทรายมีหน้าผาสูงชันเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร บางแห่งที่ดินตื้นมีลักษณะเป็นลานหินหรือสวนหินบริเวณกว้างก่อให้เกิดทัศนียภาพที่แปลกตาและสวยงามดีอีกแบบหนึ่ง ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือมีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนสูงสลับซับซ้อนประกอบด้วยถ้ำขนาดใหญ่สวยงาม หลายแห่ง เช่น ถ้ำครอบ ถ้ำเม่น ถ้ำผาเทวดา ถ้ำคนตาย และถ้ำภูเขียว มียอดเขาสูงสุดคือ เขาอุ้มนางสูง 1,242 เมตรอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทุ่งกะมัง ภูเขียวมีสภาพป่าที่สมบูรณ์และภูเขาสูงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญยิ่งของลำน้ำพรม ลำสะพุง และแม่น้ำซี ทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นต้นกำเนิดของห้วยดาด ห้วยไม้ซอด ห้วยซาง ไหลลงสู่ลำน้ำพรม ส่วนทางทิศตะวันตกและทิศใต้เป็นต้นกำเนิดของลำสะพุง และแม่น้ำซี ซึ่งมีแหล่งต้นน้ำลำธารมาจากห้วยไขว่ ห้วยเพียว ห้วยป่าเตย ลำสะพุงน้อยและลำสะพุงลาย มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในท้องที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอภูเขียว อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิและชุมชนหลายจังหวัดแล้วไหลไปรวมกับลำน้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี

ภูมิอากาศ
ภูมิอากาศโดยทั่วไปเย็นและชื้น เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร
มีป่าทึบปกคลุมเป็นส่วนมากและอยู่ในเขตมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ มีฤดูกาลทั้ง 3 ฤดู
ฤดูฝน จะมีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนเมษายนไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน แต่อาจจะทิ้งช่วงบ้างในเดือนมิถุนายน โดยตกหนักมากในเดือนกันยายน-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 2,000 ลบ.มม.
ฤดูหนาว อุณหภูมิจะเริ่มหนาวเย็นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน และหนาวจัดในเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงนี้ 10 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 2 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธุ์ถึงปลายเดือนเมษายน แต่ในช่วงนี้อาจจะมีฝนตกลงมาบ้าง อากาศในตอนกลางคืนยังคงเย็น โดยทั่วไปอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูนี้ในเวลากลางวัน 25 องศาเซลเซียส

สัตว์ป่า
มีการพบร่องรอยกระซู่ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมี เลียงผา ช้างป่า กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว กวาง เก้ง กระจง หมีชะนี ลิง ค่าง หมูป่า ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่และนกต่าง ๆ ที่หายาก เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว นกเงือกชนิดต่าง ๆ นกกางเขนดงและนกหัวขวานหลายชนิด คาดว่าเมื่อได้มีการสำรวจอย่างละเอียดจะได้พบสัตว์ป่าใหม่ ๆ แปลก ๆ อีกหลายชนิด

ป่าและพันธุ์ไม้
ชนิดป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ (Tropical Rain Forest) ซึ่งประกอบด้วยป่าดงแล้ง (Dry Evergreen Forest) ป่าดิบชื้น (Tropical Evergreen Forest) และป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) นอกนั้นมีป่าสนเขา (Pine Forest) ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) ป่าเต็งรัง (Dry Diptorocarps Forest) และทุ่งหญ้า (Savanna) พรรณพืชประกอบด้วย ไม้ยาง ตะเคียนหนูหรือตะเคียนหิน ตะแบก มะค่าโมง มะค่าแต้ แต่ตามหุบเขา ริมลำห้วย ลำธาร จะรกทึบยิ่งขึ้นกลายเป็นป่าดงดิบซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด ได้แก่ มะม่วงป่า ตะเคียนทอง กระบาก ยาง มะพลับ มะแฟน มะไฟ ชมพู่ป่าและมีเถาวัลย์ ไม้พื้นล่างเช่น บอนป่าหวาย ระกำ ไม้ไผ่ต่าง ๆ ขึ้นปกคลุมหนาแน่น ตามยอดเขาซึ่งมีระดับความสูงตั้งแต่ 700 เมตร ขึ้นไปมักจะมีสนเขาซึ่งเป็นชนิดสนสามใบซึ่งอยู่สลับกับพันธุ์ไม้ป่าดิบเขาจำพวกก่อขึ้นอยู่หนาแน่นเมื่อระดับความสูง เพิ่มขึ้น ป่าเบญจพรรณปรากฎเป็นหย่อมเล็ก ๆ ตามเนินเขาที่ไม่สูงมากนักมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญขึ้นอยู่ ได้แก่ มะค่าโมง ตะแบก แดง ประดู่ อ้อยช้าง มะกอก ไม้ไผ่ ในบริเวณที่ดินตื้นหรือดินลูกรังตามเนินเขาจะเป็นป่าเต็งรังขึ้นอยู่สลับกับป่าเบญจพรรณ โดยมีพันธุ์ไม้จำพวก เต็งรัง พะยอม เหียง มะกอก ตะแบก มะขามป้อม ยอป่า ลมแล้งและกระโดน นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติสลับกับป่าโปร่งตามบริเวณยอดเขาที่มีดินตื้นยังมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่งและแหล่งน้ำในลักษณะบึงตามธรรมชาติอีกหลายแห่ง เช่น ทุ่งกะมัง บึงแปน บึงมน บึงค้อและบึงยาวสลับกับป่าดงดิบที่แน่นทึบ

สิ่งอำนวยความสะดวก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวได้จัดที่พักไว้คอยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่สนใจเข้ามา ทัศนศึกษา ค้นคว้าวิจัยทางนิเวศวิทยา สัตว์ป่า และพรรณพืช ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามระเบียบการขอใช้บ้านพักของทางราชการอย่างเคร่งครัด
บริเวณสำนักงานเขตฯภูเขียว (ทุ่งกะมัง) ยังจัดให้มีเต้นท์ ร้านสวัสดิการ อาหาร เครื่องดื่ม ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 20.00 น. บรรยายประกอบสไลด์ป่าภูเขียว นกกระเรียน ชีววิทยาป่าไม้ของป่าภูเขียว ห้องนิทรรศการ หอดูสัตว์ บุคคลากรนำทางเดินป่า คำแนะนำในการสำรวจพื้นที่

การเดินทาง
โดยทางรถยนต์ จากกรุงเทพไปถึงอเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ระยะทางประมาณ 420 กิโลเมตร จากอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ไปตามเส้นทางของแก่น-หล่มสักประมาณ 20 กิโลเมตร แยกซ้ายไปตามเส้นทางคอนสารเขื่อนจุฬาภรณ์ ถึงศูนย์พิทักษ์ป่าภูเขียวที่ 1 ปางม่วง บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 36 แยกซ้ายมือที่ด่านตรวจหน่วยพิทักษ์ป่าปางม่วง ไปตามทางลาดยาง 8 กิโลเมตรถึงหน่วยพิทักษ์ป่าศาลาพรม จากหน่วยศาลาพรมเดินทางต่อไปอีก 18 กิโลเมตร ถึงสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวทุ่งกะมัง ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์ป่าภูเขียว รวมระยะทางจากอำเภอชุมแพถึงทุ่งกะมัง 82 กิโลเมตร


ที่อยู่ / สถานที่ติดต่อที่อยู่ : จ.ชัยภูมิ
โทรศัพท์ : 5614292-3 ต่อ 706,707

8 ความคิดเห็น:

  1. น่าไปอ่ะ มีสัตว์ป่าด้วย ติดตรงที่ตังค์ไม่มี 555

    ตอบลบ
  2. อยากไปอ่ะ อยากไปๆๆๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  3. พาไปเที่ยวมั่งดิ

    ตอบลบ
  4. น่าไปจิงๆ ทามมะชาดสุดๆอ่ะ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ19 มกราคม 2554 เวลา 04:02

    ป่ะ!!! เที่ยว

    ตอบลบ
  6. ชัยภูมิบ้านนู๋ ค่า!!!!!!!!!!

    ตอบลบ
  7. มีแต่ที่น่าเที่่ยวนะเนี่ย เลือกไม่ถูกเลย ^^

    ตอบลบ
  8. ไว้มีตังเดี๋ยวพาไปเที่ยว
    ไปพักที่บ้านเค้า แล้วไปก้อไปเที่ยวขอนแก่นด้วยเน๊าะ

    ตอบลบ